Search

วิเคราะห์กีฬาไทย 2564 ท่ามกลาง 'โควิด-19' รอบใหม่ - มติชน

วิเคราะห์กีฬาไทย 2564 ท่ามกลาง ‘โควิด-19’ รอบใหม่

วงการกีฬาทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบต้อง “เลื่อน VS เลิก” จัดการแข่งขันไปเป็นจำนวนมากหลังการมาเขย่ามนุษย์โลกของเจ้าไวรัส “โควิด-19”

มหกรรมกีฬาใหญ่ของมวลมนุษยชาติอย่างโอลิมปิกเกมส์ ฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม-8 สิงหาคม 2563 ต่อด้วย พาราลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม-5 กันยายน รวมถึงฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป “ยูโร 2021” ที่จัดใน 12 เมืองทั่วทวีปยุโรป ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน-11 กรกฎาคม, “ฟุตบอลโคปา อเมริกา” ที่ประเทศอาร์เจนตินา และโคลอมเบีย ต้องเลื่อนการแข่งขันออกไป 1 ปี

นี่ยังไม่รับรวมการแข่งขันกีฬาต่างๆ ในระดับชิงแชมป์โลก, ชิงแชมป์เอเชีย รวมถึงชิงแชมป์ระดับประเทศ
ประเทศไทยเองก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้ในการระบาดรอบแรกในเมืองไทยนั้น หลายๆ กีฬาโดนคำสั่งยกเลิกการจัดการแข่งขันไป อาทิ ฟุตบอลลีกอาชีพ, มวยไทยอาชีพ ฯลฯ แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงรัฐบาลก็ปลดล็อกให้กีฬาในเมืองไทยกลับมาจัดการแข่งขันในรูปแบบนิวนอร์มอลภายใต้มาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ศบค.) กำหนดไปทีละสเต็ป ทีละสเต็ป

ในส่วนของประเทศไทย กำลังต้องเตรียมนักกีฬาในการแข่งขันหลายรายการตลอดปี 2564 รายการใหญ่คงหนีไม่พ้นโอลิมปิกและพาราลิมปิก รวมทั้ง กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม รวมถึงอีก 2 รายการที่ไทยรับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพและต้องไปอัดรวมกันในปีหน้า
กีฬาเอเชี่ยนอินดอร์และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์ 2021 ระหว่างวันที่ 21-30 พฤษภาคม ที่เพิ่งได้รับสิทธิไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน และมีเวลาเตรียมงานไม่ถึงปี รวมทั้ง กีฬามหาวิทยาลัยอาเซียน ครั้งที่ 19 ที่ จ.อุบลราชธานี รับหน้าเสื่อเลื่อนมาจัดระหว่างวันที่ 17-26 พฤศจิกายน

แต่แล้วจู่ๆ ปลายปี 2563 เกิดการระบาดรอบใหม่ของไวรัส **”โควิด-19″** ทำให้วงการกีฬาเมืองไทยกลับไปสู่สภาวะสูญญากาศอีกคำรบหนึ่ง…

มวยไทยอาชีพ ทุกเวทีเป็นชนิดกีฬาแรกที่ออกมาเทกแอ๊กชั่นประกาศหยุดต่อยทันที จากนั้นหลายๆ กีฬาทั้งจักรยานชิงแชมป์ประเทศไทย สนามแรกของปี 2564 ที่ จ.สงขลา จำต้องประกาศเลื่อนการแข่งขันออกไป ขณะเดียวกันฟุตบอลไทยลีกบางคู่ก็เริ่มมีจัดแบบสนามปิดไม่อนุญาตให้แฟนบอลเข้าชม

หลังผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ 2564 เชื่อว่า ศบค.คงจะขยับเคลื่อนไหวออกมาตรการเข้มข้นมายังวงการกีฬาอย่างแน่นอน เพราะหลายๆ ชนิดกีฬาที่จัดกันอยู่มีการเปิดให้ผู้ชมเข้าชมการแข่งขันกันได้ ซึ่งนั่นคงไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อแผนการประกาศสงครามกำจัดไวรัส “โควิด-19” ของประเทศไทย

นี่ยังไม่รวมมหกรรมกีฬาภายในประเทศของเมืองไทยอย่างภายใต้การดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตลอดปี 2021 ประกอบด้วย กีฬาเยาวชนเเห่งชาติ ครั้งที่ 36 ที่ จ.ตราด วันที่ 18-28 เมษายน 2021, กีฬาอาวุโสเเห่งชาติ ครั้งที่ 3 ที่จ.ตราด วันที่ 5-11 พฤษภาคม 2021, กีฬาเเห่งชาติ ครั้งที่ 47 ที่ จ.ศรีสะเกษ วันที่ 5-15 มิถุนายน 2021 เเละกีฬาคนพิการเเห่งชาติ ครั้งที่ 37 ที่ จ.ศรีสะเกษ วันที่ 7-11 กรกฎาคม 2021
รวมถึงกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ประจำปี 2564 “เทียนนกแก้วเกมส์” ระหว่างวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2564

มหกรรมกีฬาเหล่านี้คงจะต้อง “เลื่อน” การแข่งขันออกไปอย่างไม่มีกำหนดไว้ก่อน คงไม่ต้องรอให้หน่วยงานอย่าง ศบค. ออกคำสั่งเพราะเจ้าของเกมการแข่งขันอย่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), กรมพลศึกษา ล้วนแต่เป็นหน่วยงานด้านกีฬาของรัฐบาลอยู่แล้ว

“บิ๊กก้อง” ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่อาจจะกลับมาแพร่ระบาดในประเทศไทยอีกครั้ง ส่วนตัวมีความกังวลว่า แผนการปลดล็อกผ่อนผันมาตรการต่างๆ ในเรื่องของการจัดการแข่งขันกีฬารายการต่างๆ ต้องหยุดชะงักไป ซึ่งทาง กกท.กำลังดูสถานการณ์ และประชุมร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.ทุกสัปดาห์ ทั้ง กกท. และ ศบค. มีข้อกังวลในเรื่องของการแพร่ระบาดอีกระลอก ซึ่งคงจะต้องมีการปรับมาตรการต่างๆ ในการจัดการแข่งขันกีฬา ทำให้ กกท.จึงยังไม่ได้เสนอมาตรการเพิ่มเติมในการปลดล็อกมาตรการการจัดการแข่งขันกีฬาแก่ ศบค. เพิ่มเติม ความน่าเป็นห่วงคือ ถ้าสถานการณ์ของโควิด-19 ในทวีปเอเชียยังไม่ดีขึ้น แล้วต้องเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก สถานการณ์ของไทยก็คงไม่ต่างจากญี่ปุ่น ที่ต้องเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเลื่อนการแข่งขันออกไป เพราะต้องมีค่าบำรุงรักษาสนามแข่งขัน และภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าเบี้ยเลี้ยงเก็บตัวนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมต่อเนื่องไปจนกว่าจะแข่งขันได้

“หากสถานการณ์โควิด-19 คุมไม่อยู่ ทำให้ต้องยกเลิกการแข่งขัน ก็เชื่อว่าการเตรียมการครั้งนี้ของเราจะไม่ศูนย์เปล่า เพราะสนามกีฬาก็ชำรุดทรุดโทรมจำเป็นต้องซ่อมแซมอยู่แล้ว ในส่วนของนักกีฬาเองก็ถือเป็นการเก็บตัวต่อเนื่องไป เพราะนอกจากเอเชียนอินดอร์และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์ แล้วยังมีโอลิมปิกเกมส์ กลางปี 2021 และซีเกมส์ ปลายปี 2021 รออยู่” ผู้ว่าการ กกท. กล่าว

ดังนั้นให้จับตามองกันว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2564 เป็นต้นไป กีฬาของเมืองไทย จะย้อนกลับไปในรูปแบบ **”เวอร์ชวล”** อีกครั้ง ทั้งการวิ่ง, การปั่น และรูปแบบของเกมออนไลน์ต่างๆ อีกรอบ…

ปี 2563 ถือว่าเป็นปีที่ล้มลุกคลุกคลานของวงการกีฬาเมืองไทยในรอบหลายทศวรรษ แต่ปี 2564 นับจากนี้เป็นต้นไป เรายังต้องอยู่กับเจ้าไวรัส “โควิด-19” ไปจนกว่าโลกใบนี้จะมีวัคซีนรักษา “โควิด-19”

ซึ่งว่ากันว่าอย่างเร็วสุดในเมืองไทยวัคซีนจะมาถึง ย้ำว่าเร็วที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งต้องลุ้นกันตัวโก่ง แต่ถ้ากุมภาพันธ์ 2564 ยังไม่มา ต้องรอไปจนถึงกลางปี 2564

เมื่อนั้น วงการกีฬาเมืองไทยถึงจะกลับมาสู่ภาวะปกติ…

Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( วิเคราะห์กีฬาไทย 2564 ท่ามกลาง 'โควิด-19' รอบใหม่ - มติชน )
https://ift.tt/387Suxv
กีฬา

Bagikan Berita Ini

0 Response to "วิเคราะห์กีฬาไทย 2564 ท่ามกลาง 'โควิด-19' รอบใหม่ - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.