Search

เจ้าหนี้บุกทวงเงินถึงบ้าน โดนข้อหาอะไรบ้าง - ไทยรัฐ

ประเด็นที่น่าสนใจของข่าวนี้ คือ การกระทำในลักษณะนี้เจ้าหนี้สามารถทำได้หรือไม่ และหากลงมือกระทำการในลักษณะนี้จะมีโทษทางอาญาหรือไม่อย่างไร

ข่าวแนะนำ

การที่เจ้าหนี้เข้าไปบุกรุกบ้านของผู้อื่น โดยที่เจ้าของบ้านไม่ได้อนุญาตนั้น ถือเป็นความผิดในข้อหาบุกรุก และจะต้องรับโทษหนักขึ้น เนื่องจากเป็นการบุกรุกในเวลากลางคืน หรือ กระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 362 มาตรา 363 หรือมาตรา 364 ได้กระทำ

(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

(2) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ

(3) ในเวลากลางคืน

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น เป็นความผิดในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในส่วนของการทวงถามหนี้ ในลักษณะข่มขู่ หรือการใช้ความรุนแรง หรือการกระทำใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ มีความผิด ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ตามพระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

มาตรา 11 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้

(1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

(2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น

(3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง (2)

(4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่า เป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด

(5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ในการติดต่อลูกหนี้ที่ทําให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหน้ี เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหน้ี

(6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนดความใน (5) มิให้นํามาใช้บังคับกับการทวงถามหน้ีเป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล

มาตรา 39 บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 8 วรรคหนึ่ง มาตรา 8 วรรคสอง (2) หรือ (3) มาตรา 11 (2) (3) (4) หรือ (5) หรือมาตรา 13 (2) ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา 41 บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 11(1) หรือมาตรา 12(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

สุดท้ายนี้ หากเราเป็นหนี้เราก็ควรจะชดใช้หนี้ แต่หากดอกเบี้ยสูงมากเกินไป ก็ควรจะขอให้เจ้าหนี้ลดหย่อนลงบ้าง หากทั้งสองฝ่ายสามารถเดินร่วมทางกันได้ ก็จะเป็นผลดีและไม่มีคดีติดตามมานะครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับฝ่ายเจ้าหนี้กับฝ่ายลูกหนี้เจรจายุติปัญหาครั้งนี้ได้ด้วยดีครับ

สำหรับท่านที่มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมลมาหาผมได้ที่ “คุยกับคนดัง” talktoceleb@trendvg3.com ได้เลยครับ

Facebook: ทนายเจมส์ LK

Instagram: james.lk

Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( เจ้าหนี้บุกทวงเงินถึงบ้าน โดนข้อหาอะไรบ้าง - ไทยรัฐ )
https://ift.tt/2O4DBEN
บ้าน

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เจ้าหนี้บุกทวงเงินถึงบ้าน โดนข้อหาอะไรบ้าง - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.