12 มกราคม 2564 | โดย กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
10
ผ่าไส้ใน "รีไฟแนนซ์บ้าน" ที่คนอยากประหยัดดอกเบี้ย "สินเชื่อบ้าน" ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ "รีไฟแนนซ์" ที่จะช่วยให้การรีไฟแนนซ์บ้านของคุณคุ้มค่าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การ "รีไฟแนนซ์บ้าน" เป็นทางเลือกที่ช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยในการผ่อนชำระ "สินเชื่อที่อยู่อาศัย" หรือ "หนี้บ้าน" "หนี้คอนโด" ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี ทว่า การรีไฟแนนซ์ใช่ว่าแค่ดอกเบี้ยถูกก็เท่ากับคุ้มค่า เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นมีรายละเอียดและเงื่อนไขยิบย่อยที่อาจกระทบต่อเงินในกระเป๋าของคุณมากกว่าเดิม หากไม่คำนวณคความคุ้มค่าให้ดีก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์
ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านจะต้องทำความรู้จักกับค่าใช้ "ค่าใช้จ่าย" ต่างๆ ในการรีไฟแนนซ์ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวมค่าใช้จ่ายที่จะตามมากับการรีไฟแนนซ์ที่จำเป็นต้องรู้ ดังนี้
1. ค่าประเมินราคา อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000-3,000 บาท หรือไม่มี ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร ณ เวลาที่จะรีไฟแนนซ์
2. ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ เช่น วงเงินกู้ 1,000,000 บาท ต้องจ่ายค่าจดจำนอง 1% เป็นเงิน 10,000 บาท เป็นต้น
3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน (ไม่เกิน 10,000 บาท)
4. ประกันอัคคีภัย โดยปกติต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย
5. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะมีหรือไม่มี โดยจะแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
การใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยชี้วัดว่า การรีไฟแนนซ์บ้านของเราจะคุ้มค่าจริงหรือไม่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องนำไปคำนวณหักลบกับเงินที่ประหยัดได้จากการรีไฟแนนซ์ ว่าสุดท้ายแล้วค่าใช้จ่ายที่เราเสียไปจะคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ประหยัดได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงหลังรีไฟแนนซ์หรือไม่ นั่นหมายความว่าการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน
นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ยังควรทำความเข้าใจการหลักการรีไฟแนนซ์ให้เข้าใจด้วย เนื่องจากหลายคนรีบรีไฟแนนซ์เพราะเข้าใจผิด โดย 3 เรื่องต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการ "รีไฟแนนซ์บ้าน" มีดังนี้
- การรีไฟแนนซ์ไม่ได้ทำให้ดอกเบี้ยหายไป แต่ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงเพื่อช่วยลดภาระในระยะยาวได้
- การรีไฟแนนซ์บ้านไม่เกี่ยวกับการพักชำระ โดยหลังจากการรีไฟแนนซ์ จะต้องมีการผ่อนชำระตามปกติ ที่สำคัญคือจำเป็นต้องผ่อนชำระคืนให้ตรงตามเวลาไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ เพิ่มขึ้นมา
- รีไฟแนนซ์บ้านทำได้ทุก 3 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องทำทุก 3 ปี ต้องดูจังหวะดอกเบี้ย และความเหมาะสมอื่นๆ ประกอบด้วย
ที่สำคัญที่สุด เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมที่จะเปรียบเทียบ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านจากธนาคารต่างๆ ก่อนตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้ได้โปรโมชั่นที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด และประหยัดที่สุดด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
https://ift.tt/39rGdDi
บ้าน
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'รีไฟแนนซ์บ้าน' อย่าดูแค่ดอกเบี้ย! เช็คลิสต์ 5 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจ 'รีไฟแนนซ์' - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment