คนไร้สัญชาติในประเทศไทยมีพื้นเพจากหลายที่มา บ้างเกิดในไทย บ้างโยกย้ายมาไทยตั้งแต่เด็ก แต่ทุกคนล้วนเติบโตบนผืนแผ่นดินไทย พวกเขาเรียกตัวเองว่าเป็นคนไทย แต่หลายคนกลับไม่ได้มองเช่นนั้นเสมอไป กำแพงเรื่องสัญชาติจึงเป็นอุปสรรคหลักขัดขวางหลายจังหวะชีวิตของคนกลุ่มนี้
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมสนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (EU)และทีมผู้สร้าง Realframe เปิดตัวภาพยนตร์สารคดี “Becoming Home บ้านที่ไม่เคยได้กลับ” บอกเล่าแง่มุมชีวิตของกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย กำกับโดย ยศธร ไตรยศ พร้อมพูดคุยกับทีมผู้กำกับและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติณ โรงภาพยนตร์ลิโด คอนเน็ค
“ในฐานะหน่วยงานด้านการพัฒนา UNDP มีความมุ่งมั่นที่จะชี้ให้สาธารณชนเห็นถึงความท้าทายที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติกำลังเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนซึ่งมีศักยภาพที่จะสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาของประเทศไทย เรามีความยินดีที่ได้ผลิตภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Becoming Home เพื่อน าเสนอประเด็นเหล่านี้สู่สังคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการลดความท้าทายต่าง ๆ ที่คนชายขอบกลุ่มนี้ต้องประสบ ท้ายที่สุดนี้ ความเข้าใจที่ดีระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายจะช่วยเพิ่มความสมานฉันท์ในสังคม ซึ่งส าคัญเป็นอย่างยิ่งไม่ว่ากับประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน” นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยกล่าว
นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เสริมว่า “เป็นที่ทราบว่าสหภาพยุโรป (EU) นั้นสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในฐานะค่านิยมแกนหลักขององค์กร ค่านิยมเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสำหรับองค์กร ในการนี้ สหภาพยุโรปมีความปีติเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมมือกับ UNDP ในการผลิตภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Becoming Home เพื่อแสดงให้เห็นว่าความอดทนต่อความแตกต่าง และความเข้าอกเข้าใจระหว่างกันในสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ส าคัญยิ่งในการท าให้กลุ่มคนชายขอบและชนกลุ่มน้อยรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แนวคิดในการสร้างความสมานฉันท์ดังกล่าวมีความส าคัญมากในการผลักดันให้ประเทศไทยมีการเติบโตอย่างก้าวหน้าและด้วยความเสมอภาค”
Becoming Home บอกเล่าเรื่องราวชีวิต มิตรภาพ บาดแผลและความฝัน จากมุมมองของชายหนุ่มหญิงสาว 6 คน ที่อยู่ในสถานะ “คนไร้รัฐไร้สัญชาติ” ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการเดินทาง การศึกษารวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ตลอดจนสวัสดิการของรัฐเพียงเพราะไม่ใช่ “คนไทย” ขณะเดียวกันพวกเขาก็พยายามส่งต่อความฝัน ความหวัง และโอกาสให้กับเพื่อนร่วมชะตากรรมได้มีแนวทางฟันฝ่าไปด้วยกันภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมายและอคติทางใจของผู้คน ด้วยความหวังแค่เพียงให้มองกันในฐานะเพื่อนมนุษย์
ภายในงาน นายยศธร ไตรยศ ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้เผยว่า “ผมหวังว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสียงให้ผู้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการมีอยู่ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ตลอดจนเปิดพื้นที่สนทนาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อจ ากัดในการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพื่อลดอคติ และสร้างการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม ตลอดจนเคารพในสิทธิเสรีภาพ รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน ในฐานะเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับเรา”
“เราหวังว่าวันหนึ่งคนในสังคมจะรับรู้และเข้าใจประสบการณ์ที่คนไร้รัฐไร้สัญชาติต้องเผชิญ และมาทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ เพื่อให้ทุกคนในไทยเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการที่เท่าเทียมมากขึ้น” นางสาวแสงส่า 1 ใน 6 เยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ กล่าว
นอกจากนี้ ในกิจกรรมเปิดตัวภาพยนตร์ยังมีวงดนตรี View From The Bus Tour ร่วมแสดงสดเพลงประกอบสารคดี
ด้วยความร่วมมือของ Documentary Club ภาพยนตร์สารคดี“Becoming Home” จะเข้าฉายอย่างเป็นทางการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ Doc Club On Demand ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 และจากนั้นจะฉายผ่าน www.you-me-we-us.com ตั้งแต่ 1 มกราคม
2565 เป็นต้นไปโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ทั้งนี้ ภาพยนตร์สารคดี“Becoming Home” เป็นส่วนหนึ่งของ You Me We Us นิทรรศการออนไลน์เรื่อง “เรา” กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ที่ชวนทุกคนมาทำความรู้จักผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ผ่านเรื่องของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิมนุษยธรรม รวมถึงความไร้รัฐไร้สัญชาติ
ชมตัวอย่างภาพยนตร์ได้ที่: you-me-we-us.com/becoming-home
ชมภาพยนตร์ผ่าน Doc Club On Demand
Username: becoming
Password: home
ติดตาม Becoming Home และ You Me We US ได้ที่:
Facebook: @youmeweus.exhibition Instagram: @youmeweus.exhibition Twitter: @You_Me_We_Us
#BecomingHome #YouMeWeUs
https://ift.tt/3cruw1y
บ้าน
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“Becoming Home บ้านที่ไม่เคยได้กลับ” เรื่องราวชีวิตคนไร้สัญชาติ - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment